พนักงานที่สร้างผลลัพธ์ที่ดี และเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้ คือสุดยอดพนักงาน

มีคำถามจากผู้บริหารองค์กรในประเด็นว่า พนักงานที่ผลงานดี แต่ไม่สามารถทำงานเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้ เราควรจะเก็บเขาไว้หรือจะทำอย่างไรกับเขาดี ในทางตรงกันข้าม ถ้าพนักงานมีความเข้ากับวัฒนธรรมขององค์กรได้อย่างดี แต่ไม่มีผลงานเราจะทำอย่างไรดี ท่านผู้อ่านคิดอย่างไรบ้างครับ

ในกรณีนี้เราต้องจำกัดความวัฒนธรรมองค์กรกันก่อนว่า เป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ที่องค์กรกำหนดขึ้นมา และต้องการจะรักษาวัฒนธรรมองค์กรแบบนี้ไว้ เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร และทำให้ธุรกิจยั่งยืนได้ในอนาคต

จากนั้นเราจึงค่อยมาพิจารณาประเด็นของพนักงานกันว่า เราควรจะบริหารจัดการอย่างไรกับพนักงานที่มีความแตกต่างกันไป ลองมาดูกันทีละกรณีไป

  • พนักงานสร้างผลงานได้ดี และเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้อย่างดี นี่คือ พนักงานในฝันของเราเลย ซึ่งเราต้องหาให้ได้จริง ก็คือ พนักงานคนนี้สามารถทำงานเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้อย่างดี อีกทั้งยังสร้างผลงานที่ดีได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งถ้าองค์กรมีพนักงานแบบนี้เยอะๆ ก็จะมีแต่ความรุ่งเรือง
  • พนักงานที่เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้อย่างดี แต่ยังไม่สามารถทำผลงานที่ดีได้ พนักงานคนนี้ องค์กรยังควรจะเก็บเอาไว้ เพราะเข้าสามารถส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่ดีได้ เขาสามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมเหล่านี้ไปยังพนักงานรุ่นถัดไปได้ ซึ่งวัฒนธรรมองค์กรที่ดีนั้นเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจได้อย่างดี แต่ในมุมที่ว่า ผลงานยังไม่ดีนั้น อันนี้เราต้องหาทางพัฒนาพนักงานคนนี้ให้ได้ โดยการพิจาณราว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ผลงานของเขาไม่ดี ซึ่งอันนี้ไม่ยาก ส่วนใหญ่ก็มักจะขาดความรู้ทักษะ หรือขาดแรงจูงใจในการทำงานบางอย่าง ซึ่งเราสามารถหาทางพัฒนาเขาได้ หรือ หาโค้ชดีๆ สักคนเพื่อพัฒนาพนักงานผลงานของพนักงานกลุ่มนี้ให้ดีขึ้นได้
  • พนักงานที่ผลงานดี แต่เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรไม่ได้ พนักงานกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่ผู้บริหารส่วนใหญ่มักจะอยากสับสนว่าควรจะทำอย่างไรกับพนักงานกลุ่มนี้ดี เพราะเขาสร้างผลงานที่ดีให้กับองค์กรได้อย่างต่อเนื่อง เพียงแต่ เขาไม่สามารถทำงานให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้เลย มีปัญหาขัดแย้งตลอด ต่อต้าน และไม่ปรับตัวเองให้กับเขาวัฒนธรรมองค์กรที่ดีของเรา ถ้าเราต้องการความสำเร็จ และความยั่งยืนขององค์กรในระยะยาวแล้ว ต้องบอกว่า พนักงานกลุ่มนี้คือกลุ่มที่ไม่เหมาะสมกับการทำงานกับองค์กรเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าเขาไม่สามารถเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้เลย ไม่สามารถปรับตัวเองได้เลย แม้ว่าเขาจะมีผลงานดีแค่ไหน ก็ไม่เหมาะกับองค์กรของเราแน่นอน เนื่องจากความยั่งยืนขององค์กรต้องอาศัยวัฒนธรรมในการทำงานเป็นหลักสำคัญ ข้อนี้อดีต CEO ของ GE คือ Jack Welch ยึดเป็นหลักในการบริหารคนของเขาเลยก็ว่าได้ ถ้าใครผลงานดีมาก แต่ไม่สามารถทำงานเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรของ GE ได้ ก็แปลว่าพนักงานคนนั้นไม่เหมาะกับองค์กร
  • ส่วนพนักงานกลุ่มสุดท้ายก็คือ ผลงานก็ไม่ดี และยังไม่สามารถเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้เลย แบบนี้ ก็ไม่ควรจะเก็บเอาไว้อย่างยิ่ง อีกทั้งก็ไม่ควรจะสรรหาเข้ามาตั้งแต่แรกแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ถ้าระบบการสรรหาคัดเลือกผู้สมัครงานของเราดีพอ เราจะไม่เจอกับพนักงานในลักษณะนี้มากนัก

ท่านผู้อ่านล่ะครับ จะเก็บพนักงานแบบไหนไว้ทำงานเพื่อสร้างผลงานแบบยั่งยืนให้กับองค์กรของเรา

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

บลอกที่ WordPress.com .

Up ↑

%d bloggers like this: