สิ่งที่ผู้สมัครงานตอบเวลาสัมภาษณ์ เป็นเรื่องจริง หรือ เรื่องแต่ง

การสรรหาและคัดเลือกพนักงานเป็นด่านแรกขององค์กรทุกองค์กรในการหาพนักงานที่ดีมีฝีมือเข้ามาทำงานกับบริษัท ซึ่งเครื่องมือในการสรรหาคัดเลือกเองนั้นปัจจุบัน ก็มีการพัฒนาไปต่างๆ นานา ไม่ว่าจะเป็นแบบทดสอบต่างๆ เครื่องมือวัดทักษะในการทำงานบางอย่าง แต่เครื่องมือหนึ่งที่องค์กรทุกองค์กรใช้ในการคัดเลือกพนักงานอย่างแน่นอน ก็คือเครื่องมือที่เรียกกว่า การสัมภาษณ์ นั่นเอง

แล้วเรารู้หรือไม่ว่า สิ่งที่พนักงานตอบมาให้เรารับทราบกันนั้น อะไรที่เป็นเรื่องจริง อะไรที่เป็นเรื่องโกหกบ้าง ผมเชื่อว่า ยากที่จะรู้ได้ว่าเรื่องไหนเป็นเรื่องจริง หรือโกหก ยกเว้นว่าเราจะทำการตรวจสอบอย่างจริงจังหลักจากการสัมภาษณ์เสร็จ

ซึ่งในหลายๆ กรณี ทำให้นายจ้างมารับทราบทีหลังว่าพนักงานโกหกในหลายๆ เรื่อง ซึ่งก็นอกจากเสียความรู้สึกกันไป ก็ยังทำให้หลายๆ ครั้งต้องถึงกับเลิกจ้างกันเลยก็เยอะครับ

วันนี้จะมาดูกันว่า ผู้สมัครงานส่วนใหญ่พูดจริง หรือโกหกกันแน่

จากงานวิจัยของบริษัท Yolk Recruitment ได้ศึกษาผู้สมัครงานที่มาสมัครงานผ่านองค์กรของเรา ซึ่งพบความจริงว่า

  • 60% ของผู้สมัครงานยอมรับว่า ตนเองโกหกในระหว่างการสัมภาษณ์
  • 40% ยอมรับว่า โกหกเพื่อที่จะสร้างความประทับใจให้กับผู้สัมภาษณ์

จากข้อมูลชุดนี้ แสดงว่าคนที่มาสัมภาษณ์นั้นส่วนใหญ่โกหกมากกว่าพูดความจริง อันนี้ก็คงต้องไปพิสูจน์กันเองอีกทีนะครับว่าโกหกเรื่องอะไรกันบ้าง ส่วนเรื่องที่ผู้สมัครมักจะพูดไม่จริงนัก หรืออาจจะเสริมเติมแต่งกันไปบ้าง ก็มีอยู่เยอะเหมือนกันนะครับ ลองมาดูกันครับว่ามีเรื่องอะไรบ้างที่มักจะถูกเสริมเติมแต่งหรือบวกเพิ่มเข้าไป

  • 67% ของผู้สมัครเติมแต่ง และบวกเพิ่มในเรื่องของอัตราค่าจ้างเงินเดือนที่ได้รับล่าสุด ซึ่งก็มักจะบวกเพิ่มเข้าไป เพื่อที่จะได้ยกระดับอัตราค่าจ้างเงินเดือนของตนเองในการทำงานที่ใหม่
  • 61% ของผู้สมัครมักจะเติมแต่งคุณสมบัติของตนเองเพิ่มเติม เพื่อทำให้น่าสนใจมากขึ้น อาจจะเขียนชื่อวุฒิแบบที่ทำให้เข้าใจผิดได้ หรือไม่ก็เติมแต่งเรื่องราวของการศึกษาบางอย่างเข้าไป
  • 58% เติมแต่งเรื่องของจำนวนปีประสบการณ์ รวมทั้งเรื่องราวของประสบการณ์ในการทำงานของตนเอง เพื่อให้ดูมีคุณค่า และมีผลงานมากขึ้น
  • 54% เติมแต่ง รวมทั้งไม่พูดความจริงในเรื่องของเหตุผลของการลาออกจากที่เก่า ทั้งนี้ก็เพื่อปิดบังความจริงบางอย่าง ซึ่งถ้าผู้สัมภาษณ์รู้ จะทำให้ไม่ได้งานทำนั่นเอง
  • 44% จะปรุงแต่งในเรื่องของคุณสมบัติของตนเองให้ดูดีขึ้น เช่นเรื่องของภาษาต่างประเทศ ทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์ หรือทักษะอื่นๆ ก็จะทำให้ดูโดดเด่น น่าเชื่อถือมากขึ้นกว่าเดิม
  • 32% จะไม่บอกความจริงเกี่ยวกับสถานภาพสมรสของตนเอง บางคนแต่งงานแล้ว ก็บอกว่ายังไม่แต่ง บางคนยังไม่แต่ง ก็บอกว่าแต่งงานแล้ว เป็นต้น

จริงๆ เรื่องราวการเสริมเติมแต่งนั้นเป็นเรื่องปกติของคนเราอยู่แล้ว ถ้าอยากจะได้งาน ก็คงต้องสร้างความประทับใจให้กับผู้สัมภาษณ์ให้ได้มากที่สุด เพื่อให้ตนเองมีโอกาสอยู่ในผู้ถูกเลือก แต่ถ้าเราโกหกหรือเติมแต่งเรื่องบางเรื่องมากเกินไป ผมว่าถ้าองค์กรสืบทราบความจริงเมื่อไหร่ เราจะยิ่งแย่ครับ เพราะจะทำให้เราขาดความน่าเชื่อถือไปเลยครับ ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าองค์กรต่างๆ ที่มีการสื่อข้อมูลถึงกันอยู่ตลอดในเรื่องของข้อมูลพนักงาน ชื่อของพนักงานที่โกหกจะถูกขึ้นบัญชีดำ และกระจายไปทั่ว ซึ่งเจ้าตัวไม่รู้เลยนะครับ เวลาไปสมัครงานที่ไหน ก็ไม่เคยได้เลย

ผลการวิจัยนี้น่าจะเป็นประโยชน์ในการสรรหาคัดเลือกของเราได้ เพราะถ้าเรารู้ว่าคนส่วนใหญ่โกหกเวลามาสัมภาษณ์ ก็คงต้องพยายามสร้างคำถามเพื่อที่จะเค้นความจริงให้ได้มากที่สุด รวมทั้งใช้วิธีการอื่นในการสืบทราบไปถึงภูมิหลังของพนักงานคนที่เราต้องการจะเลือก ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกเข้าทำงาน

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

บลอกที่ WordPress.com .

Up ↑

%d bloggers like this: