เคยเจอหรือยัง กับการทำงานแบบยืดหยุ่น ที่ไม่ยืดหยุ่นจริง

หลายบริษัทนำเอาแนวทางในการทำงานแบบยืดหยุ่นมาใช้จริงในการทำงาน โดยเฉพาะในช่วงหลังโควิด หรือช่วงที่เราน่าจะอยู่กับโควิดได้อย่างราบรื่นมากขึ้น ในสองปีที่มีการ work from home และมีการทำงานแบบยืดหยุ่นของพนักงานในช่วงโควิด ทำให้ผู้บริหารองค์กร ฝ่ายบุคคล และพนักงานได้เรียนรู้ว่า วิถีการทำงานแบบใหม่น่าจะต้องเกิดขึ้นในการทำงานอย่างแน่นอน ซึ่งก็คือ การทำงานแบบยืดหยุ่นนั่นเอง

Flexible Working นั้น เราสามารถยืดหยุ่นได้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเวลาในการทำงาน สถานที่ในการทำงาน และวิธีการทำงานของพนักงาน โดยมุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์ของงานมากกว่าการที่ต้องมาตรวจสอบว่าพนักงานมาทำงานกี่โมง มาสายหรือไม่ กลับก่อนเวลาหรือเปล่า ฯลฯ

ในมุมพนักงานนั้น Flexible Working น่าจะทำให้พนักงานสามารถบริหารจัดการเวลา และสถานที่ทำงาน รวมถึงวิธีการทำงานของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งก็น่าจะส่งผลต่อการสร้างความสมดุลของการใช้ชีวิตส่วนตัว และการทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งก็น่าจะส่งผลต่อ Productivity และ ผลงานของพนักงาน โดยปกติแล้ว พนักงานก็น่าจะชอบการทำงานแบบยืดหยุ่นแบบนี้

ในมุมนายจ้าง หรือ ผู้บริหาร ก็คาดหวังว่าน่าจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้นเช่นกัน จากการทำงานแบบยืดหยุ่น เพราะพนักงานไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง รวมทั้งมองว่าจะได้มีเวลาในการทำงานมากขึ้นด้วยเช่นกัน

แต่ในความเป็นจริงที่เกิดขึ้นจากการทำงานแบบ Flexible Working นั้น มันอาจจะไม่ได้เป็นอย่างที่พนักงานและผู้บริหารคาดหวังไว้ก็ได้ เพราะต่างคนต่างมอง และให้คำนิยามของคำว่า Flexible Working แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

  • พนักงานคิดว่าได้ทำงานแบบยืดหยุ่น แต่เอาเข้าจริงๆ กลับกลายเป็นว่า ต้องใช้เวลาทำงานมากกว่าเดิมที่เคยอยู่ในออฟฟิศ เวลาประชุมที่ติดกันหลายประชุม เวลาพักทานอาหารกลางวันไม่มี เวลาที่จะดูแลครอบครัวเพราะได้ทำงานจากที่บ้าน ก็ไม่ได้อย่างที่คิดไว้
  • พนักงานได้รับมอบหมายงาน และติดต่อมาจากนาย ในทุกเวลา และต้องตอบสนองต่อการติดต่อนั้นในทันที มิฉะนั้นจะมีผลต่อผลงานของตนเองในปีนั้น (นายคาดหวังไว้)
  • ผู้บริหารคิดว่า เมื่อพนักงานทำงานยืดหยุ่นได้ ก็แสดงว่าผู้บริหารสามารถติดต่อและให้พนักงานทำงานได้ตลอดเวลาทุกวัน วันละ 24 ชั่วโมงเลย เพราะนี่คือ การทำงานแบบยืดหยุ่น
  • ผู้บริหารคาดหวังว่าพนักงานจะต้องทำงาน และรับสาย และตอบรับการติดต่อทุกครั้งไม่ว่าจะเป็นเวลาไหนที่ผู้บริหารติดต่อมา ก็ถือเป็นเวลาสำหรับการทำงาน ถ้าผู้บริหารติดต่อมาแล้วไม่ได้รับการตอบสนอง หรือ ติดธุระอย่างอื่นบ่อยๆ ก็จะถูกมองว่า พนักงานคนนี้ไม่มีประสิทธิภาพ และมีแนวโน้มว่าผลประเมินในปีนี้จะออกมาไม่ดีอย่างแน่นอน

นี่คือตัวอย่างของการทำงานแบบยืดหยุ่น แต่ไม่มีความยืดหยุ่นอย่างที่ออกแบบไว้

พนักงานจะรู้สึกว่า นโยบายการทำงานแบบยืดหยุ่นก็จริง แต่กลับกลายเป็นว่า พนักงานยิ่งต้องทำงานมากขึ้นกว่าเดิม หนักกว่าเดิม และไม่มีเวลาให้กับกิจกรรมอื่น ๆ ในการใช้ชีวิตส่วนตัวตามที่คาดหวังไว้ และกลายเป็นว่าพนักงานรู้สึกว่า การทำงานแบบยืดหยุ่น ก็คือ การทำงานตลอด 24 ชั่วโมง

องค์กรของท่านกำลังมีนโยบายการทำงานแบบยืดหยุ่น แต่ไม่ยืดหยุ่นแบบนี้อยู่หรือเปล่าครับ

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

บลอกที่ WordPress.com .

Up ↑

%d bloggers like this: