Flexible Working กับความลำเอียงของผู้บริหารต่อพนักงาน

เคยรู้หรือไม่ว่า Flexible Working ที่เรากำลังนิยมอยากทำกันนั้น มันสร้างความลำเอียงในมุมมองของผู้บริหารต่อการทำงานของพนักงานแล้ว

หลายบริษัทมีการทำ Flexible Working กันมากขึ้น และเริ่มที่จะเรียนรู้กันมากขึ้นว่า ความยืดหยุ่นในการทำงานนั้น มีความแตกต่างกันไปตามบริบทขององค์กร หน่วยงาน และแม้กระทั่งตัวพนักงานเอง ก็มองแตกต่างกัน ดังนั้นการที่บริษัททำเอาระบบการทำงานแบบยืดหยุ่นมาใช้ ก็ต้องมีการปรับเงื่อนไขการใช้งาน และการออกแบบระบบ ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในการทำงานของธุรกิจ และความต้องการของพนักงาน

ในช่วงแรก ๆ ที่เอาระบบการทำงานแบบยืดหยุ่นมาใช้งาน ส่วนใหญ่ก็จะเป็นการยืดหยุ่นในเรื่องของเวลาการทำงาน และสถานที่ทำงาน

  • ยืดหยุ่นด้านเวลาการทำงาน ก็อาจจะเป็นการเข้างานกี่โมงก็ได้ ในระยะเวลาที่กำหนดไว้ หรือจะออกจากงานกี่โมงก็ได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้เช่นกัน หรือในบางกรณีที่พนักงานมีเหตุจำเป็นจริง ๆ ก็สามารถเอาเวลางานไปทำสิ่งจำเป็นก่อนได้ ซึ่งถ้ามองในมุมพนักงาน ก็ถือว่า เป็นการอำนวยความสะดวกในยามจำเป็นของพนักงานในเวลางาน สามารถทำให้พนักงานไม่เครียด และบริหารจัดการเวลาทำงาน และเวลาส่วนตัวได้ดีขึ้น

  • ยืดหยุ่นด้านสถานที่ทำงาน จะเป็นในมุมของสถานที่ทำงาน ว่า จะทำงานจากที่ไหนก็ได้ หรือจะเป็นการทำงานจากที่บ้านก็ได้ ก็จะทำให้พนักงานไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง และสามารถใช้เวลาตรงนั้นในการสร้างผลงาน หรือบริหารชีวิตส่วนตัวได้เช่นกัน

หลายองค์กรก็มีการใช้ความยืดหยุ่นทั้งเวลา และสถานที่ผสมผสานกัน

อย่างไรก็ดี พอใช้งานเรื่องการทำงานแบบยืดหยุ่นมาสักพัก เราก็เริ่มเห็นด้านมืดของระบบนี้ โดยเฉพาะในมุมมองของผู้บริหารที่มีต่อพนักงานแต่ละคน เช่น

ผู้บริหารจะมองว่า พนักงานที่สามารถบริหารจัดการเวลาที่ยืดหยุ่นกับการทำงานที่ได้ปริมาณ และคุณภาพงานมากขึ้น ดีขึ้นคือพนักงานที่มีผลงานดี ทุ่มเท และมีศักยภาพที่จะเติบโตต่อไปในองค์กร เช่น พนักงานที่ใช้เวลาที่เดิมต้องเดินทางอยู่บนรถ มาทำงานจากที่บ้าน และใช้เวลาเดินทางเดิมนั้น มาในการประชุมร่วมกับผู้บริหาร ทีมงาน และลงมือทำงานกันตั้งแต่เช้าตรู่ พนักงานคนนี้จะมีผลงานที่ดี

ในทางตรงกับข้าม ถ้าพนักงานคนนั้น เอาเวลาช่วงที่ยืดหยุ่นได้นั้นไปดูแลชีวิตตนเอง ไปดูแลครอบครัว ไปทำในสิ่งที่ไม่ใช่งานของบริษัท แม้ว่า งานของพนักงานจะทำเสร็จได้ตามเป้าหมายที่ต้องการแล้วก็ตาม แต่ผู้บริหารก็จะมองว่าพนักงานคนนี้ ยังมีผลงานที่ไม่ดีพอ และยังไม่มีศักยภาพในการเติบโตในองค์เรา

นี่คือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย ท่านรู้สึกอย่างไรบ้างกับกรณีข้างต้น

ดังนั้นเวลาที่เราจะเอาการทำงานแบบยืดหยุ่นมาใช้จริง ๆ คงต้องมีระบบในการมองผลงานของพนักงานให้สอดคล้องกับความยืดหยุ่นเหล่านี้ด้วยเช่นกัน รวมทั้งต้องเปลี่ยนมุมมอง และทัศนคติของผู้บริหารให้เข้าในคำว่า การทำงานแบบยืดหยุ่นจริง ๆ ไม่ใช่ยังคงใช้มุมมองเดิมในการมองผลงานและพฤติกรรมของพนักงาน

ถ้าเป็นแบบนี้ ระบบการทำงานยืดหยุ่นจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย จะยิ่งทำให้พนักงานเครียดกว่าเดิม และสับสนว่า บริษัทและผู้บริหารจะเอายังไงกันแน่ จริงมั้ยครับ

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

บลอกที่ WordPress.com .

Up ↑

%d bloggers like this: