Flexible Working ผู้บริหารคิดอย่างไรกันบ้างกับเรื่องนี้

ช่วงเวลาโควิดไม่แน่นอนแบบนี้ เราคงต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับมันอย่างปลอดภัยที่สุด เสี่ยงน้อยที่สุด ซึ่งทำให้องค์กรเองก็ต้องปรับตัวในเรื่องของวิธีการทำงานของพนักงาน เรื่องของ Flexible Working ก็เป็นเรื่องที่คุยกันได้ตลอดในช่วงนี้ เพราะยากที่จะหาข้อสรุปได้ แล้วผู้บริหารระดับสูงเองคิดอย่างไรกับเรื่องนี้

จากที่ได้มีโอกาสคุยกับผู้บริหารระดับสูงของหลายองค์กรในประเทศไทย ก็พอจะได้ความคิดทั้งในเชิงเห็นด้วย และไม่ค่อยเห็นด้วย แต่ต้องทำตามกระแสกันไป ผมก็เลยสรุปคำพูดของผู้บริหารมาให้อ่านกันประมาณนี้

  • “ผมเห็นด้วยนะ กับเรื่องการทำงานแบบยืดหยุ่น ระบบนี้ช่วยให้พนักงานสามารถที่จะวางแผนในการใช้ชีวิต และการทำงาน อีกทั้งไม่ต้องอยู่ในกรอบมากเหมือนในอดีต เช่น วันไหนที่ทำงานเหนื่อย ๆ บ่าย ๆ เริ่มล้า พนักงานก็อาจจะออกไปออกกำลังกายสักชั่วโมงนึง หรือออกไปนวดผ่อนคลายสัก1 ชั่วโมง แล้วก็กลับมาทำงานต่อ มันก็สามารถทำได้”
  • “ผมมองในเรื่องของการให้เวลากับครอบครัว การทำงานแบบยืดหยุ่น สามารถที่จะทำให้พนักงานให้เวลากับครอบครัวหรือคนที่เขารักได้มากขึ้นกว่าเดิม เวลาที่ครอบครัวไม่สบาย หรือประสบอุบัติเหตุ หรือ ลูกต้องให้พ่อแม่ไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่โรงเรียน ฯลฯ พนักงานก็สามารถที่จะแบ่งเวลาในการทำกิจกรรมนั้นโดยใช้เวลางานบางส่วน ซึ่งถ้าเราทำงานแบบดั้งเดิม เราจะไม่สามารถให้พนักงานทำสิ่งเหล่านี้ได้เลย”

สองมุมมองข้างต้นนี้ ไปทางเห็นด้วย และสนับสนุนการทำงานแบบยืดหยุ่น ลองมาดูมุมมองที่ไม่ค่อยเห็นด้วยกันบ้าง

  • “งานในบริษัทมันเป็นงานที่ค่อนข้างจะตายตัว มีการกำหนดตารางเวลาการทำงานที่ชัดเจนให้กับพนักงานแต่ละคน การที่จะยืดหยุ่นมันทำได้ยากมากด้วยสภาพแวดล้อมของการทำงานแบบนี้”
  • “เราทำมาแล้ว การทำงานแบบยืดหยุ่น สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ พนักงานแต่ละคนต่างก็มีตารางเวลาที่ยืดหยุ่นของตนเอง ซึ่งแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมการทำงานและครอบครัว และการใช้ชีวิต พอถึงเวลาที่จะต้องให้พนักงานกลุ่มนี้มาประชุมกัน ผมนี่แทบจะหาเวลาตรงกันไม่ได้เลย ทำให้การประชุมต้องถูกเลื่อนออกไปตลอด เพราะตารางไม่ตรงกัน หลายครั้งที่ต้องประชุมกันตอนสองทุ่ม ซึ่งก็เป็นเวลาที่เลิกงานแล้วด้วยซ้ำไป แบบนี้ยังจะเรียกว่าการทำงานแบบยืดหยุ่นได้จริงหรือ”

ได้อ่านความเห็นของผู้บริหารข้างต้นแล้ว รู้สึกอย่างไรกันบ้าง

โดยสรุปแล้ว การทำงานแบบยืดหยุ่นนั้น (Flexible Working) ยังเป็นคำที่มีความหมายคลุมเครือมาก ตอนนี้ยังมีการตีความที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละคน และแต่ละองค์กร

บ้างก็มองในเรื่องของเวลาทำงาน บ้างก็มองเรื่องสถานที่ บ้างก็มองว่าเป็นสวัสดิการอย่างหนึ่ง ฯลฯ

หลายองค์กรพยายามลอกเลียนแบบการทำงานแบบยืดหยุ่นของอีกองค์กรหนึ่ง ซึ่งยิ่งลอกยิ่งพัง เพราะสภาพการทำงานของแต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน

แม้แต่ในองค์กรเดียวกัน แต่อยู่ต่างฝ่ายงานกัน ก็มองเรื่องความยืดหยุ่นในการทำงานต่างกัน หรือแม้กระทั่งฝ่ายเดียวกันเอง พนักงานแต่ละคนก็ยังมีมุมมองต่อความยืดหยุ่นในการทำงานที่แตกต่างกันด้วยเช่นกัน

ดังนั้นการที่เราจะเอาแนวคิดการทำงานแบบยืดหยุ่นไปใช้ในองค์กรของเรา จึงจำเป็นที่จะต้องกำหนดนิยามการทำงานยืดหยุ่นของเราเองอย่างเฉพาะเจาะจง โดยอ้างอิงจากธุรกิจขององค์กร สภาพแวดล้อมการทำงาน กระบวนการทำงาน ฯลฯ มากำหนดในเรื่องของความยืดหยุ่น

และต้องชี้แจงให้กับพนักงานของเราเข้าใจในเรื่องของความยืดหยุ่นนี้ ว่ามันมีความแตกต่างกันไปในแต่ละองค์กร จะให้เหมือนกับองค์กรอื่น ๆ อย่างที่พนักงานต้องการก็คงจะทำได้ยาก

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

บลอกที่ WordPress.com .

Up ↑

%d bloggers like this: