อยากได้ระบบค่าตอบแทนที่ใช่ อย่าลืมย้อนกลับมาดูตัวเองก่อน

“Copy ระบบค่าตอบแทนของบริษัทที่เขาทำดี ๆ มาเลยสิ” CEO บางองค์กรเคยพูดไว้

ระบบค่าตอบแทนไม่สามารถลอกเลียนแบบกันได้เลย แม้ว่าบริษัทจะอยู่ในธุรกิจแบบเดียวกัน เป็นคู่แข่งกัน แต่ระบบค่าตอบแทนไม่สามารถที่จะลอกเลียนแบบได้แบบเป๊ะ ๆ เนื่องจากสภาพแวดล้อมของแต่ละบริษัทมีความแตกต่างกันมาก และที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดก็คือ ความเชื่อ และแนวคิดในการบริหารจัดการของผู้นำองค์กร

ถ้าบริษัท หรือองค์กรใดต้องการระบบค่าตอบแทนที่ดี ที่สามารถตอบโจทย์ธุรกิจของตนเองได้อย่างดีนั้น ต้องไม่ลืมพิจารณาย้อนกลับมาที่ตัวบริษัทของเราเองก่อนว่าเป็นอย่างไรบ้าง โดยพิจารณาใน 4 แง่มุมดังนี้

  • Business Life Cycle คือวงจรชีวิตของธุรกิจ ว่าขณะนี้ธุรกิจของเราอยู่ในช่วงวงจรชีวิตในช่วงไหน ซึ่งปกติ ก็จะแบ่งเป็น ช่วงเริ่มต้น ช่วงเติบโตแบบก้าวกระโดด ช่วงเติบโต ช่วงรักษาระดับ ช่วงถดถอย ซึ่งธุรกิจในแต่ละช่วงวงจรชีวิต ก็จะใช้ทรัพยากรบุคคลที่แตกต่างกันไป ซึ่งก็จะมีผลต่อระบบการบริหารค่าตอบแทนที่แตกต่างกันด้วยเช่นกัน เช่นช่วงที่ธุรกิจกำลังเติบโตแบบก้าวกระโดด เราต้องการพนักงานมือดี ที่มาต่อยอดความเติบโต ก็ต้องใช้ระบบค่าตอบแทนที่สูงกว่าตลาดทั่วไป เพื่อดึงดูด และเก็บรักษาคนเก่งๆ ไว้ให้ได้นาน ๆ แต่ถ้าธุรกิจของเราอยู่ในช่วงคงที่แล้ว เราก็คงต้องการพนักงานที่เข้ามาทำงานเพื่อรักษาระบบต่าง ๆ ของบริษัทไว้ โดยไม่ต้องคิดอะไรใหม่ๆ มากมาย ระบบค่าตอบแทนก็อาจจะแค่เพียงจ่ายให้แข่งขันได้กับตลาดปกติก็น่าจะเพียงพอ เป็นต้น

  • Business Design พิจารณาจากรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ของบริษัท ว่าเราใช้ Competency อะไรเป็นกลยุทธ์หลักในการบรรลุเป้าหมายขององค์กร เรามีค่านิยมองค์กรอย่างไร เช่น เราต้องสร้างสิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ต้องคิดสินค้าใหม่ และต้องเร็วกว่าคนอื่น หรือ เราเป็นองค์กรที่เน้นการให้บริการที่ดี เน้นการเอาใจใส่ลูกค้ามากกว่าตัวสินค้ามันเอง หรือ เราเป็นองค์กรที่ใช้การสื่อสารกับลูกค้าของเราเป็นหลัก ฯลฯ ซึ่งด้วย competency  และ Business model ที่แตกต่างกัน ก็จะมีผลต่อการวางระบบบริหารค่าตอบแทนที่แตกต่างกันเช่นกัน

  • Geography ลักษณะทางภูมิศาสตร์ สถานที่ตั้ง และความกว้างของธุรกิจ เป็นปัจจัยที่ 3 ที่ต้องพิจารณา เช่น ธุรกิจที่มีสถานที่ตั้งที่แตกต่างกัน คนละพื้นที่กัน ก็อาจจะมีระบบค่าตอบแทนที่แตกต่างกันไป เนื่องจากคนในแต่ละพื้นที่อาจจะมีความคิด และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ยิ่งถ้าแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ยิ่งมีความแตกต่างกันมากขึ้น หรือ บางธุรกิจที่เป็นแบบ international หรือ Global Business เมื่อเทียบกับ Local ระบบค่าตอบแทนที่ออกแบบก็ต้องมีความแตกต่างกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

  • Brand Reputation ชื่อเสียงและภาพลักษณ์ขององค์กรว่าเป็นอย่างไร เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไปมากน้อยแค่ไหน ยิ่งชื่อเสียงดี ภาพลักษณ์เยี่ยม ยิ่งทำให้ดึงดูดคนเข้าทำงานได้ง่ายกว่า อีกทั้งยังสามารถกระตุ้น และสร้างความรู้สึกมั่นคงในการทำงานได้ดีกว่า ระบบค่าตอบแทนก็อาจจะเป็นลักษณะที่แตกต่างกับองค์กรที่มีภาพลักษณ์และชื่อเสียงในระดับที่ต่ำกว่าเช่นกัน ยกตัวอย่างง่าย ๆ ธุรกิจที่ยังไม่มีชื่อเสียงมากนัก อาจจะต้องใช้นโยบายการจ่ายค่าตอบแทนที่สูงกว่าตลาดเพื่อดึงดูดคนเข้าทำงาน เมื่อเทียบกับธุรกิจที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ๆ อาจจะกำหนดระดับการจ่ายค่าตอบแทนที่แข่งขันได้ก็เพียงพอที่จะดึงดูดคนเก่ง ๆ เข้าทำงานได้แล้ว

ระบบค่าตอบแทนที่ดี ไม่ใช่แค่ทำยังไงก็ได้ ให้มีโครงสร้างเงินเดือนสำหรับจ่ายพนักงาน ยิ่งไปกว่านั้น ก็ยังไม่สามารถที่จะลอกเลียนแบบกันได้อีกด้วย เราต้องพิจารณาจาก 4 ปัจจัยข้างต้นเพื่อนำมาปรับปรุง และออกแบบระบบค่าตอบแทนที่สอดคล้องกับธุรกิจของเรา ต้องเป็นแบบ Tailer Made กันมากกว่าที่จะเลียนแบบจากองค์กรอื่น

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

บลอกที่ WordPress.com .

Up ↑

%d bloggers like this: