ฝ่ายบุคคล และองค์กร กับการดูแลสุขภาพจิตของพนักงาน (Mental Health)

เคยรู้หรือไม่ว่า ตอนนี้พนักงานของท่านมีสุขภาพจิตเป็นอย่างไรบ้าง เครียดมากน้อยแค่ไหน Burnout หรือยัง ฯลฯ และในฐานะที่เป็นผู้จัดการ เป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงาน เราจะต้องทำอย่างไรเพื่อที่จะดูแลสุขภาพจิตของพนักงานในทีมงานได้

ปัจจุบันเรื่องของสุขภาพจิตของพนักงานในการทำงาน ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ องค์กรในต่างประเทศ รวมถึงในประเทศไทยเอง ก็เริ่มให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของพนักงาน พยายามหาแนวทางในการดูแลสภาพจิตใจของพนักงานในการทำงานกับองค์กร

เพราะเราเห็นความเชื่อมโยงของสุขภาพใจ ไปสู่สุขภาพกาย ซึ่งสุดท้ายก็มีผลต่อสุขภาพงาน ของพนักงานแต่ละคน

ในฐานะผู้บริหารขององค์กร หรือ ฝ่ายบุคคลขององค์กร ถ้าเราต้องการที่จะให้บรรดาผู้จัดการของเราหันมาเห็นความสำคัญ และใส่ใจในสุขภาพจิตของพนักงานมากขึ้น ก็คงต้องเริ่มต้นจากแนวทางดังต่อไปนี้

  • สร้างความตระหนักในเรื่องนี้ และสร้างวัฒนธรรมแห่งการสนับสนุนซึ่งกันและกัน ต้องเริ่มต้นจากการให้ความรู้ และความตระหนักในเรื่องของสุขภาพจิตของพนักงานในการทำงาน ทำให้ผู้จัดการทุกคนตระหนักและเริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้น สร้างบรรยากาศในการทำงานร่วมกันอย่างพี่น้อง ให้การสนับสนุนซึ่งกันและกันมากขึ้น
  • สร้างระบบและเครื่องมือเพื่อสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพจิตในการทำงานที่ดี เช่น ระบบการทำงานแบบยืดหยุ่นมากขึ้นทั้งในด้านเวลา สถานที่ และวิธีทำงาน รวมถึงลดความกดดันในเรื่องของระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ในการทำงาน สร้างบรรยากาศทางกายภาพ เช่น สถานที่ทำงาน โต๊ะทำงาน ของพนักงาน สามารถที่จะตกแต่งตามสไตล์ของตนเองได้อย่างเต็มที่ รวมถึงการจัดสถานที่ทำงานที่เป็นส่วนตัวสำหรับพนักงานบางคนที่ต้องการจะใช้สมาธิในการทำงานสูง ๆ ให้โอกาสพนักงานได้ลาในกรณีเพื่อดูแลสุขภาพจิตใจของตนเอง แม้ว่าจะยังไม่ได้ป่วยก็ตาม
  • ให้โปรแกรมช่วยเหลือพนักงาน ฝ่ายบุคคลต้องมีการคิดโปรแกรมเพื่อป้องกัน และช่วยเหลือพนักงานในเรื่องสุขภาพจิตให้มากขึ้นกว่าในอดีต เช่น การมีสวัสดิการด้านสุขภาพกายเช่น fitness โยคะ รวมถึงการฝึกจิตต่าง ๆ ขึ้นในบริษัท สร้างโปรแกรมการอบรมในเรื่องของการบริหารความเครียดให้เป็นโปรแกรมมาตรฐานไว้เลย ไม่ว่าจะเป็นการฝึกอบรม การเข้าโปรแกรมในภาคปฏิบัติ รวมทั้งการจัดหาหนังสือ สื่อสารเรียนรู้ในเรื่องนี้ให้พร้อมไว้เสมอ
  • ส่งเสริมให้พนักงานใช้โปรแกรมเหล่านี้ สิ่งหนึ่งที่อาจจะยากหน่อยในช่วงแรก ๆ ของการมีโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตของพนักงานก็คือ พนักงานไม่กล้ามาใช้โปรแกรมเหล่านี้สักเท่าไหร่ เพราะกลัวว่าจะถูกมองว่าเป็นโรคจิตบ้าง หรือจิตไม่ปกติบ้าง บางคนกลัวคนอื่นมองมาก ๆ เข้า ก็เลยต้องอดทน ฝืนตัวเองไปเรื่อย ๆ ยิ่งทำให้อาการแย่ลงไปอีก ดังนั้น HR และผู้บริหารจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความเข้าใจให้กับทุกคนในบริษัท ให้เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ และต้องให้พนักงานมองเรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมดาของชีวิตคนเรา ไม่ใช่เป็นเรื่องน่ากลัว หรือน่ารังเกียจ แต่เป็นเรื่องที่ต้องให้ความเข้าใจ และให้ความช่วยเหลือมากกว่า

โปรแกรมเหล่านี้ ไม่จำเป็นที่จะต้องเกิดขึ้นกับองค์กรขนาดใหญ่ องค์กรขนาดเล็ก ก็สามารถสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นได้เช่นกัน เพียงแต่ผู้บริหาร ฝ่ายบุคคล และผู้จัดการทุกระดับจะต้องตระหนักถึงความสำคัญจริง ๆ ของสุขภาพจิตพนักงาน และไม่มองว่าเป็นเรื่องเล่น ๆ เพื่อทำให้บรรยากาศในการทำงานส่งเสริมให้พนักงานทำงานกันได้อย่างสบายใจนั่นเอง

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

บลอกที่ WordPress.com .

Up ↑

%d bloggers like this: