จ่ายให้สูง และดูแลอย่างดี เคล็ดลับการเก็บรักษาคนเก่งในยุคนี้

การดูแลพนักงาน โดยเฉพาะพนักงานที่เก่งๆ นั้น ถือว่าเป็นงานหลักอีกงานหนึ่งของฝ่ายบุคคล และของผู้จัดการสายงานที่เป็นหัวหน้างานโดยตรงของคนเก่งๆ เหล่านั้นเลยก็ว่าได้ ปัจจุบันนี้องค์กรต่างๆ แข่งขันกันเยอะมากในแง่ธุรกิจ ต้องการให้ธุรกิจประสบความสำเร็จสูงๆ ซึ่งก็ต้องอาศัยทรัพยากรบุคคลในองค์กรที่สร้างผลงานที่ดีให้กับองค์กร

ดังนั้น การที่เราสามารถสรรหาคัดเลือกคนเก่งๆ เข้ามาได้แล้ว เราก็ต้องมีวิธีการในการเก็บรักษาคนเก่งเหล่านี้ ให้อยู่ทำงานสร้างผลงานให้กับองค์กรได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วยเช่นกัน

มีหลักการมากมายในปัจจุบันที่นำมาใช้ในการเก็บรักษาคนเก่ง ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีการสร้างแรงจูงใจการทำเรื่องของความผูกพันของพนักงาน การสร้างสภาพแวดล้อมต่างๆที่ทำให้พนักงานรู้สึกมีความสุขในการทำงานกับองค์กร การที่องค์กรนำเอาสิ่งเหล่านี้มาใช้มันค่อนข้างชัดเจนว่าองค์กรเหล่านี้ต้องการที่จะดูแลพนักงานอย่างดีเพื่อให้พนักงานสร้างผลงานที่ดีให้กับองค์กรด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ดี ก็ยังมีคำถาม ตามมาค่อนข้างเยอะว่าอะไรคือวิธีการที่ดีที่สุดในการเก็บรักษาและดูแลคนเก่งๆ เราคงไม่ต้องการให้คนเก่งเหล่านี้ทำงานกับเราสักพักแล้วก็ลาออกไปทำงานที่อื่น

จากประสบการณ์ส่วนตัวที่ทำงานบริหารทรัพยากรบุคคลมา และจากหลักการตำราทางด้านนี้มากมาย ผมสามารถสรุป เคล็ดลับในการดูแลและการเก็บรักษาคนเก่งขององค์กร ได้ออกมา 2 ข้อ คือ

  • จ่ายค่าตอบแทนให้สูงพอ เรื่องค่าตอบแทน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามันไม่สำคัญ หลายตำราเขียนไว้อย่าง ชัดเจนว่าค่าตอบแทนไม่มีผลต่อการสร้างแรงจูงใจ แต่ในทางปฏิบัตินั้นมันถูกเพียงครึ่งเดียว อีกครึ่งหนึ่งนั้นพนักงานก็ยังรู้สึกว่าเรื่องของค่าตอบแทนมีผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของเขากับองค์กร ดังนั้นถ้าเราต้องการที่จะสร้างแรงจูงใจโดยเฉพาะการเก็บรักษาคนเก่งๆให้อยู่ทำงานกับเราได้นานๆ เราก็คงต้องหันกลับมามองเรื่องของการจ่ายค่าตอบแทนให้กับพนักงานกลุ่มนี้ด้วยเช่นกัน

การจ่ายค่าตอบแทนให้สูงพอนั่นก็คือการจ่ายให้สามารถแข่งขันได้กับตลาด แข่งขันได้กับกลุ่ม วิชาชีพของพนักงาน ผู้บริหารบางองค์กรประกาศอย่างชัดเจนเลยว่าเขาจะต้องจ่ายให้พนักงานอย่างดีโดยที่พนักงานจะต้องไม่มีคำถาม ในแง่ของค่าตอบแทนที่เขาได้รับ เรียกว่าจ่ายให้พนักงานโดยที่พนักงานไม่ต้องมามีข้อสงสัยในเรื่องค่าตอบแทน

ถ้าองค์กรของเรายังมีข้อสงสัย มีข้อคำถามจากพนักงาน ในเรื่องของค่าตอบแทนอยู่บ่อยๆ นั่นแสดงว่า ระบบค่าตอบแทนของเรานั้นยังมีปัญหาอยู่ อาจจะเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความเป็นธรรมในการจ่าย หรือปัญหาที่เกี่ยวกับความสูงต่ำเมื่อเทียบกับตลาดของการจ่ายค่าตอบแทน ก็เลยทำให้พนักงานยังคงวนเวียนแล้วก็คิดแต่เรื่องนี้อยู่ตลอดเวลาในขณะที่ทำงาน ดังนั้นการจ่ายค่าตอบแทนที่สูงพอ และเป็นธรรมมากพอ นั่นก็คือจ่ายแล้ว พนักงานลืมเรื่องค่าตอบแทนไปเลย สนใจแต่งานที่จะต้องทำเท่านั้น ถ้าองค์กรของเราทำได้แบบนี้ นั่นแปลว่าระบบค่าตอบแทนของเราจ่ายได้สูงพอ และนธรรมเพียงพอ

  • ดูแลพนักงานอย่างดี เรื่องของการดูแลพนักงานอย่างดีนั้น เป็นเรื่องของชีวิตและความเป็นอยู่ของพนักงานที่มาทำงานกับองค์กร ในส่วนที่นอกเหนือจากค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน องค์กรของเราดูแลพนักงานของเราได้ดีเพียงพอหรือไม่ เรื่องนี้จะค่อนข้างกว้างมาก อาจจะมีองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น สวัสดิการขององค์กร ตอบโจทย์ความต้องการของพนักงานหรือไม่ ผู้จัดการหรือหัวหน้างานโดยตรงของพนักงาน ดูแลพนักงานได้อย่างดีหรือไม่ เป็นธรรมหรือเปล่า เวลาพนักงานมีปัญหาทั้งในเรื่องงาน และเรื่องส่วนตัว องค์กรและหัวหน้างาน เข้ามาดูแลพนักงานเหล่านี้อย่างไร ฯลฯ

เรามักจะได้ยินภาษาอังกฤษที่เขาใช้คำว่า Treat them well ซึ่งก็คือการดูแลเอาใจใส่พนักงานอย่างดี ผมว่านี่ก็เป็นอีกหนึ่ง เคล็ดลับ ที่จะทำให้เราสามารถเก็บรักษาคนเก่งๆเอาไว้ได้ ลองคิดดูว่าถ้าองค์กรดูแลเราในฐานะที่เราเป็นพนักงานอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาที่เรามีปัญหาในการทำงาน หรือมีปัญหาส่วนตัว แต่องค์กรก็ดูแลเราอย่างดี มีความเข้าใจในตัวพนักงาน ว่าขณะนี้เกิดอะไรขึ้นกับตัวพนักงาน และช่วยหาทางออกและแนวทางในการแก้ไขให้กับพนักงานได้ องค์กรแบบนี้จะมีพนักงานคนไหนที่ไม่อยากทำงานด้วยจริงไหมครับ

ดังนั้นเคล็ดลับในการเก็บรักษาพนักงานเก่งๆไว้ ก็คือจ่ายค่าตอบแทนให้สูงและดูแลพนักงานอย่างดี สองตัวนี้คือเคล็ดลับจริงๆ อยู่ที่องค์กรของท่านจะทำได้มากน้อยแค่ไหน ผู้บริหารเองจริงจังกับเรื่องของการบริหารทรัพยากรบุคคลสักแค่ไหน ต้องการที่จะเก็บรักษามือดีขององค์กรไว้สักแค่ไหน ถ้าผู้บริหาร เอาจริง กับเรื่องดังกล่าว รับรองได้เลยว่าระบบค่าตอบแทนและการดูแลพลังงานจะออกมาได้อย่างดี อย่างที่เราเห็นในองค์กรต่างๆที่ผู้บริหารเอาจริงๆเรื่องนี้

ดังนั้น องค์กรของท่านเอาจริงกับเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน ก็คงต้องหาคำตอบกันดูนะครับ

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

บลอกที่ WordPress.com .

Up ↑

%d bloggers like this: