จะทำให้พนักงานใหม่มีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของทีมได้อย่างไร ในช่วงที่ต้องทำงานจากที่บ้าน

ในช่วงที่ต้องมีการทำงานจากที่บ้านกัน 100% โดยเฉพาะในช่วง Lock Down แบบนี้ หลายองค์กรยังมีการเปิดรับพนักงานใหม่เข้าทำงานอยู่ เนื่องจากธุรกิจอาจจะไม่ได้รับผลกระทบอะไรมากนัก อีกทั้งอาจจะเป็นการรับเข้ามาเพื่อทดแทนพนักงานเดิมที่ลาออกไป หรือเกษียณอายุออกไป ปัญหาก็คือ ในช่วงที่ทำงานกันที่บ้านแบบนี้ เราจะต้องทำอย่างไรให้พนักงานใหม่ที่รับเข้ามานั้น รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของทีม และขององค์กรได้

ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในช่วงนี้ก็คือ พนักงานใหม่ที่เพิ่งเข้าทำงาน แล้วต้องทำงานจากที่บ้าน ความรู้สึกของเขา จะไม่เหมือนกับว่าได้งาน จะรู้สึกแตกต่างกับการที่ได้งานแล้ว ต้องเข้าบริษัท ได้เห็นสถานที่ทำงาน โต๊ะทำงาน เพื่อนร่วมงาน บรรยากาศในการทำงานร่วมกันจริงๆ ได้เจอเพื่อนร่วมงาน เจอหัวหน้าทุกวัน

แต่พอต้องทำงานที่บ้าน กลับให้ความรู้สึกที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง พนักงานใหม่บางคนรู้สึกเคว้งคว้างมากๆ เพราะไม่มีใครคุยด้วย ไม่มีใครสอนงาน แนะนำงานอะไร ไม่มีใครมามอบหมายงานอะไร บางคนนั่งเฉยๆ ไม่ได้ทำงานอะไรอยู่เป็นสัปดาห์เหมือนกัน ซึ่งก็เป็นผลทำให้พนักงานใหม่เหล่านี้ รู้สึกไม่ค่อยมีส่วนร่วมกับการทำงาน กับองค์กรใหม่ที่เข้าทำงานด้วยมากนัก ความผูกพันกับองค์กร กับเพื่อนร่วมงาน กับนาย มันหายไป แล้วเราควรจะทำอย่างไรดี

  • ผู้จัดการต้องเป็นคนที่สร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของทีมให้ได้ ตัวหัวหน้างานโดยตรง จะต้องเป็นคนรับผิดชอบหลักในการสร้างการมีส่วนร่วมในการทำงาน สร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของทีมให้กับพนักงานใหม่คนนี้ให้ได้ โดยในระยะแรก จะต้องมีการประชุม พูดคุยกันตัวต่อตัว โดยประชุมออนไลน์ เห็นหน้ากัน คุยกัน สอบถามความรู้สึกกันก่อน รวมทั้ง เป็นคนเล่าวิธีการทำงาน กระบวนการในการทำงาน และตกลงกติกาในการทำงานร่วมกัน ในช่วงสัปดาห์แรก หัวหน้าจะต้องเข้ามาทักทาย สอบถามความรู้สึกในการทำงานมากหน่อย เพื่อให้พนักงานใหม่ไม่รู้สึกถูกทิ้งไว้คนเดียว

  • ตั้งพี่เลี้ยงช่วยดูแล ในระยะแรก เราต้องมีการแต่งตั้งพี่เลี้ยงสักคน เพื่อดูแลในเรื่องของการทำงาน พูดคุยกัน กับพนักงานใหม่ โดยที่จะต้องประกบและทำงานร่วมกันเกือบตลอดเวลา อาจจะเปิดกล้อง และ online ทำงานด้วยกันไป โดยที่เวลามีข้อสงสัยอะไรก็สามารถสอบถามพี่เลี้ยงได้โดยตรง ผมเคยเห็นบางแห่งนั่งทานข้าวด้วยกันผ่านหน้ากล้องก็มี และช่วงเวลาทานข้าวด้วยกันก็พูดคุยกันในเรื่องอื่นบ้างที่ไม่ใช่เรื่องงาน บางแห่ง ก็มีเพื่อนร่วมงานคนอื่นในทีมงาน Join เข้ามาทานข้าวด้วยกันก็มี เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกใหม่กับสมาชิกเดิมในทีมงาน

  • กำหนดเวลาในการประชุมทีมร่วมกัน ให้มีการกำหนดเวลาในการประชุมทีมงานทั้งหมด และให้โอกาสพนักงานใหม่ในการพูดคุย แชร์ความรู้สึกต่าง ๆ และให้สมาชิกคนอื่นได้มีโอกาสพูดคุยกับพนักงานใหม่ทั้งเรื่องงานและเรื่องอื่นๆ อาจจะเป็นการประชุมเพื่อพักเบรก คือ ช่วงทำงานก็ต่างคนต่างทำงานกันไป แต่จะมีการนัดหมายกันเข้ามาในห้องประชุมออนไลน์ ตอนพักเบรกสำหรับการทำงาน มาดื่มกาแฟด้วยกัน ทานอาหารว่างร่วมกันผ่านหน้ากล้อง ซึ่งช่วงเวลานี้ หัวหน้างาน พี่เลี้ยง หรือทีมงานคนอื่น ก็สามารถที่จะชวนพนักงานใหม่คุยได้ตลอด เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้น

  • ฝ่ายบุคคลช่วยเข้ามาเป็นพี่เลี้ยงในช่วงแรก อีกวิธีหนึ่งก็คือ ฝ่ายบุคคลเข้ามาช่วยในเรื่องของการให้คำปรึกษา แนะนำ ทั้งในเรื่องงาน และเรื่องความเป็นอยู่ วิธีการทำงาน วิธีคิด ฯลฯ ถามทุกข์สุขพนักงานใหม่ โดยในระยะแรก ก็อาจจะต้องมีการ Check-in กัน2-3 ครั้งต่อวัน พอผ่านไปสัก 1 เดือน ก็อาจจะเหลือ 2 ครั้งต่อวัน จากนั้นก็อาจจะวันละครั้ง และสัปดาห์ละครั้ง จนพนักงานสามารถที่จะปรับตัวและทำงานเข้ากับทีมงานและองค์กรได้ แม้ว่าจะต้องทำงานจากที่บ้านก็ตาม

ด้วยวิธีการเหล่านี้ ก็น่าจะช่วยทำให้พนักงานใหม่ที่เรารับเข้ามาทำงานในช่วงเวลาของการทำงานจากที่บ้าน เกิดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของทีม ขององค์กร ได้อย่างดี แม้ว่าช่วงเวลานี้เราอาจจะไม่ได้เจอหน้ากันจริงๆ ก็ตาม

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

บลอกที่ WordPress.com .

Up ↑

%d bloggers like this: