อุปสรรคของการเรียนรู้แบบ Digital Learning

ช่วงโควิด19 ปีกว่าที่ผ่านมา พนักงานหลายคนปรับตัวเข้ากับการทำงานในแบบ Digital Working กันได้มากขึ้น เริ่มเข้าใจวิธีการทำงานจากคนละที่ ทำงานจากที่บ้าน ประชุมผ่าน online โดยใช้ platform ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเต็มไปหมดในช่วงนี้

นอกจากการทำงาน Online แล้ว การพัฒนาพนักงานในช่วง 1 ปีกว่าๆ ที่ผ่านมานั้น ก็ปรับเปลี่ยนมาเป็น แบบ Digital Learning กันมากขึ้น แทบจะทุกองค์กรพยายามที่จะปรับตัว และส่งเสริมให้พนักงานเรียนรู้พัฒนาโดยอาศัยเครื่องมือและ Platform ต่างๆ ทางด้าน Digital กันมากขึ้น การฝึกอบรมที่ต้องไปอบรมกันตามโรงแรมนั้นแทบจะหายไปเลยในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา แม้กระทั่งการอบรมแบบ Inhouse Training ภายในองค์กรเอง ก็จัดได้ยากมากขึ้นด้วยนโยบายแบบ Social Distancing

สุดท้ายสิ่งที่เราเห็นกันจนชินตาไปแล้วก็คือ การฝึกอบรมผ่านช่องทาง Online ผ่าน Platform การประชุม และการทำ webinar ต่างๆ ข้อดีก็คือ เราไม่ต้องให้พนักงานเดินทางไปไหน นั่งเรียนอยู่กับบ้าน หรือที่บริษัทก็ได้ เพียงแค่มี คอมพิวเตอร์สักเครื่อง มี wifi หรือ สัญญาณอินเตอร์เน็ต ก็สามารถนั่งเรียนได้แล้ว

ช่วงแรกๆ ของการเรียนรู้แบบนี้ ด้วยความแปลกใหม่ และอยู่ในระยะปรับตัว ทั้งคนเรียนและคนสอนก็รู้สึกตื่นเต้นไปกับเทคโนโลยี และวิธีการเรียนการสอนแบบใหม่นี้ แต่พอระยะเวลาผ่านไป มันก็เริ่มที่จะมีอุปสรรคต่อการเรียนรู้ในแบบ online ลักษณะนี้มากขึ้น หลายองค์กรต้องการให้กลับมาเรียนกันแบบในห้องเรียนเหมือนเดิม แต่ในช่วงนี้ ก็ยังไม่สามารถที่จะทำแบบนั้นได้ด้วย โควิด19 ที่ยังไม่จากไปไหน แถมยังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในบ้านเรา

อุปสรรคต่อการเรียนรู้ในแบบ online learning นั้นมีอะไรบ้าง

  • บรรยากาศในการเรียนรู้ ตัวแรกสุดที่เป็นอุปสรรคก็คือ บรรยากาศในการเรียนรู้ระหว่างที่นั่งเรียนหน้าคอม กับการนั่งเรียนในห้องเรียนนั้น แตกต่างสิ้นเชิง สภาพแวดล้อมรอบตัวเรา ไม่ได้แตกต่างไปจากการทำงานเลย แค่เปลี่ยนหน้าจอ และเข้าโปรแกรมการเรียนรู้ จากนั้นก็นั่งเรียนไปจากหน้าจอเดียวกับที่เรานั่งทำงาน บรรยากาศในการพูดคุย หารือ ปรึกษา สอบถาม ตั้งคำถาม แลกเปลี่ยนความเห็นแบบสดๆ นั้นไม่มี หลายคนพยายามจะทำให้เกิดอารมณ์แบบเหมือนกับเรียนในห้อง แต่สุดท้ายด้วยสภาพแวดล้อม และบรรยากาศที่ต่างกันมาก ก็เลยไม่สามารถทำได้เหมือนกับการเรียนรู้ในชั้นเรียนได้ ผลก็คือ คนเรียนหลุดบ้าง ไม่ได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการบ้าง ฯลฯ
  • สมาธิในการเรียนรู้ ขนาดเรียนกันในชั้นเรียน เจอกันซึ่งหน้า คนเรียนยังหลุดจากสมาธิได้เลย แล้วการเรียน online แบบนั่งเรียนคนเดียวหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น มันจะไม่หลุดเลยหรือ คนเรียนมักจะเกิดอาการเบื่อ จากนั้นก็เปลี่ยนไปทำอย่างอื่นในขณะที่เปิดหน้าจอทิ้งไว้ เหมือนกับว่ากำลังนั่งเรียนอยู่ แต่ไม่สนใจฟัง ไม่สนใจคิดตามอีกต่อไป นอกจากนี้ หลายครั้งที่เคยเห็นกับตนเองมา ก็คือ คนเรียนเหมือนนั่งเรียน แต่จริงๆ แล้วนั่งกดโทรศัพท์บ้าง นั่งทำงานอื่นบ้าง หรือ ทำงานบ้านบ้าง ฯลฯ ก็เลยทำให้ประสิทธิผลของการเรียนรู้ในช่องทางนี้ลดลงไป
  • Distraction ปัจจัยมากมายที่ดึงคนเรียนออกจากการเรียนจากหน้าจอ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ Social Media ต่างๆ Email และงานประจำที่ทำอยู่ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้มักจะเป็นตัวดึงพนักงานออกจากการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมาก นั่งเรียนอยู่ดีๆ นึกขึ้นได้ว่ายังไม่ได้ตอบเมล ก็เปิดหน้าจอเพื่อตอบเมล ก็หลุดออกจากการเรียนรู้อีก
  • เรียนนานๆ ไม่ได้ การเรียน online นั้น การนั่งเรียนเฉยหน้าจอเป็นระยะเวลานานๆ นั้น มันเป็นอะไรที่เรียกว่าท้าทายคนเรียนมาก ส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ผล ถ้าต้องนั่งเรียนกันเกินกว่า 3 ชั่วโมงขึ้นไป การเรียนในชั้นเรียนในหลายๆ หลักสูตรยังมีการให้รวมกลุ่ม ระดมสมอง เขียนคำตอบลงกระดาน มีการให้ช่วยกันนำเสนอ ถามตอบระหว่างคนเรียนด้วยกันเอง มีมุกตลกต่างๆ ออกมาเป็นระยะๆ ซึ่งการเรียนแบบ online นั้นแม้ว่าจะพยายามทำให้เหมือนแค่ไหน แต่สุดท้ายบรรยากาศมันไม่ได้จริงๆ สุดท้ายการระดมสมอง การให้ช่วยกันคิด ก็มักจะมีอุปสรรคเกิดขึ้นระหว่างที่เรียนเสมอ
  • คนสอนเริ่มหมดสนุกกับการสอน วิทยากรที่สอน online จะต้องใช้พลังมากกว่าปกติอย่างมาก ต้องกระตุ้นความสนใจของคนเรียนอยู่ตลอด ต้องคอยดึงให้คนเรียนมามีส่วนร่วมในแบบที่คนสอนเองก็ไม่รู้ว่าคนเรียนตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง Eye contact ที่เคยมีในชั้นเรียน พอมาเรียน online ก็ไม่สามารถที่จะมองตา สบตาคนเรียนได้เลย ยิ่งไปกว่านั้น คนเรียนบางคนก็ไม่ยอมเปิดกล้อง ยิ่งทำให้คนสอนไม่รู้ว่าสิ่งที่พูดไปนั้นคนเรียนกำลังเข้าใจอยู่หรือไม่ หรือกำลังนั่งเรียนจริงๆ หรือเปล่า สุดท้าย คนสอนก็เลยทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุดก็คือสอนไป พูดไป ตามบทบาท บางครั้งผู้สอนตั้งคำถามในการเรียน online แต่ส่วนใหญ่ที่มักจะเจอก็คือ Dead Air เงียบกริบไม่มีสัญญาณตอบรับจากผู้เรียน ไม่มีแม้แต่ใครที่จะตอบกลับมา จนบางครั้งผู้สอนต้องเรียกชื่อกันเลยก็มี แต่ก็มีอีกเช่นกันที่ว่า เรียกชื่อแล้ว คนที่ถูกเรียกก็ไม่มีสัญญาณตอบรับอะไรกลับมา แบบนี้ยิ่งทำให้คนสอนที่ตั้งใจจะสอนอย่างเต็มที่ เริ่มไม่อยากที่จะสอนผ่าน online

แต่ถ้าโควิด19 ยังอยู่กับเราแบบนี้ และยังต้องมีการเว้นระยะห่างกันแบบนี้ และองค์กรต้องการที่จะพัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่อง การเรียนรู้และอบรมพัฒนากันแบบ online ก็ยังคงอยู่กับเราไปอีกนาน แม้ว่าจะพ้นโควิดไปแล้ว ผมคิดว่าการเรียน online ก็น่าจะกลายเป็นภาพปกติที่เราจะทำกัน เพียงแต่คงต้องมีการออกแบบให้เหมาะสมว่าจะเป็นการเรียนรู้ในแบบไหน

เช่นอาจจะต้องใช้ในการเรียนรู้ระยะสั้นๆ ไม่เกิน  2 ชั่วโมง เพื่อย้ำ หรือเพื่อเน้นทางการหลักการ และมีการมอบหมายให้ผู้เรียนไปปฏิบัติจริง จากนั้นก็มาเรียน online กันต่อ โดยให้ผู้เรียนมานำเสนอผลกันไป โดยใช้เวลาไม่เกินครั้งละ 2 ชั่วโมง เป็นต้น

จะเป็นการผสมผสานวิธีการเรียนรู้ ด้วยเครื่องมือและแนวทางต่างๆ ผสมกันไปให้เหมาะสมกับบทเรียน ก็น่าจะทำให้การเรียนรู้ของพนักงานเรามีประสิทธิภาพมากขึ้นได้

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

บลอกที่ WordPress.com .

Up ↑

%d bloggers like this: