สาเหตุหลักที่ทำให้พนักงานเกิดความเครียดจากการทำงาน

วันนี้ทำเอาผลการสำรวจจาก CIPD ในอีกหัวข้อหนึ่งมาให้อ่านกันครับ เป็นผลการสำรวจสาเหตุของความเครียดจากการทำงานของพนักงานว่าจะมีสาเหตุหลักๆ มาจากเรื่องอะไรบ้าง สำหรับในช่วงปี 2020-2021

  • Workloads/volume of work สาเหตุแรกซึ่งเป็นสาเหตุยอดนิยมก็คือ ปริมาณงานที่รับผิดชอบที่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทั้งปริมาณงานที่มากขึ้น คุณภาพงานที่ต้องสูงขึ้น ความต้องการของนายๆ ทั้งหลายที่ต้องการ productivity ของการทำงานที่มากขึ้นอยู่ตลอดเวลา พนักงานต้องหาทุกวิถีทางที่จะต้องทำงานให้ดีขึ้นอยู่เสมอ จนทำให้พนักงานรู้สึกเหนื่อยล้าและเครียดจากการทำงานอย่างมาก
  • Management style สาเหตุที่สองที่ทำให้พนักงานเครียดก็คือ สไตล์ในการบริหารจัดการของผู้จัดการ และผู้นำของตนเอง ซึ่ง พนักงานต้องพยายามตามให้ทัน สำหรับผู้นำที่ไฟแรง และต้องการการเปลี่ยนแปลงที่เร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด ผู้นำแบบนี้จะมีความคิดริเริ่มใหม่ๆ มาให้พนักงานได้ทำอยู่ตลอดเวลา ของเก่ายังไม่ทันเสร็จของใหม่ก็ตามมา แล้วก็ต้องคอยรายงานความคืบหน้าตลอด หรือในทางตรงกันข้ามที่ผู้นำบางองค์กรทำงานแบบเรื่อยๆ ไม่ค่อยกระตือรือร้นอะไรมากนัก พนักงานก็เริ่มหมดไฟตามไปด้วย หรือ ผู้นำบางองค์กรชอบที่จะเล่นการเมืองในองค์กรจนไม่ต้องทำงานกัน สาเหตุเหล่านี้ก็ทำให้พนักงานเกิดความเครียดในการทำงานขึ้นได้
  • New work-related demands or challenges due to homeworking as a result of COVID-19 สาเหตุประการที่สาม ก็มาจากในช่วงปีที่ผ่านมา โควิด19 ได้เข้ามาสร้างผลกระทบอย่างมากมายและทั่วโลก ซึ่งย่อมมีผลกระทบต่อการทำงานของทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการต่างๆ ที่ออกมา การเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน ทำงานจากที่บ้าน การจัดเวลาเข้าทำงานใหม่ ฯลฯ ยิ่งไปกว่านั้น สิ่งเหล่านี้ยังต้องเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จนทำให้พนักงานต้องเปลี่ยนตามไปเรื่อยๆ สุดท้ายก็เครียดสะสมโดยไม่รู้ตัว
  • Non-work Factor สาเหตุสุดท้ายที่ทำให้เกิดความเครียดของพนักงาน ก็คือสาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องกับตัวงานโดยตรง ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องครอบครัว ความสัมพันธ์ รวมถึงเรื่องส่วนตัวของพนักงานแต่ละคน รวมไปถึงสภาพแวดล้อมภายนอกที่เข้ามามีผลกระทบต่อการใช้ชีวิต เช่น สภาพเศรษฐกิจตกต่ำ ความไม่สะดวกในการดำรงชีวิตในช่วงปีที่ผ่านมา

แม้งานวิจัยนี้จะเป็นงานที่สอบถามพนักงานทั่วโลก ผมเชื่อว่าในประเทศไทยเองก็คงหนีไม่พ้นสาเหตุเหล่านี้ เพียงแต่แต่ละองค์กรก็อาจจะมีสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป

ถ้าใช้ข้อมูลจากที่ได้พูดคุยกับผู้บริหาร และพนักงานในหลายๆ ระดับ ในบริษัทต่างๆ ที่เป็นลูกค้าของทางบริษัทผม ก็พอที่จะสรุปได้ว่า พนักงานค่อนข้างจะมีความเครียดเกิดขึ้น ซึ่งผลก็มาจากทั้งการทำงาน และนอกงานด้วย ยิ่งไปกว่านั้น Covid19 ในช่วงนี้ก็ระบาดหนักขึ้น มาตรการภาครัฐก็ออกมาจำกัดวิถีชีวิตของประชาชนมากขึ้น สภาพทางเศรษฐกิจในประเทศเองก็มีปัญหา ฯลฯ ช่วงนี้ก็เลยเห็นคนทำงานหลายคนที่รู้สึกเครียด เบื่อหน่าย เซ็ง ซึมลง บางคนถึงกับรู้สึกเหนื่อยล้าไปหมด

เมื่อ HR ขององค์กรมองเห็นสัญญาณต่างๆ เหล่านี้แล้ว ก็ต้องมีมาตรการต่างๆ ออกมาเพื่อช่วยให้พนักงานลดความเครียดลงให้ได้ การพูดคุย สื่อสาร การรับฟัง รวมถึงการลดความเครียดและความกดดันจากการทำงานปกติลงบ้างในระยะนี้ ก็น่าจะพอช่วยทำให้ความรู้สึกเครียดของพนักงานลดน้อยลงไปได้บ้าง

ความเครียดถ้าเราไม่ดูแลป้องกันให้ดี มันจะส่งผลต่อตัวพนักงาน และต่อผลงาน สุดท้ายก็ต่อผลงานขององค์กรด้วยเช่นกัน

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

บลอกที่ WordPress.com .

Up ↑

%d bloggers like this: