ภาวะเหนื่อยล้า หมดพลังในการทำงาน (Burnout) ใครต้องรับผิดชอบ

ปัจจุบันนี้เราคงจะคุ้นชินกับคำว่า Burnout กันมากขึ้น เนื่องจากถูกพูดกันอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากปัจจัยสภาพแวดล้อมของการทำงานมันเอื้อให้พนักงานเกิดภาวะนี้กันอย่างมาก คำว่า Burnout ถ้าจะเอาความหมายของคำนี้จริง ๆ ก็แปลว่า ภาวะที่คนเราหมดแรง หมดพลังในการทำงาน เกิดภาวะเครียดเหนื่อยล้าจากการทำงาน

ซึ่งจะสังเกตได้ว่า Burnout นั้น จะต้องมีสาเหตุมาจากการทำงานเท่านั้น มันเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการที่คนเราประสบกับภาวะถูกกดดัน มีความเครียดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องมีผลมาจากการทำงาน ภาษาอังกฤษเขาใช้คำว่า Burnout is an occupational phenomenon สาเหตุหลัก ๆ ก็คือ

  • เกิดความเหนื่อยล้า จากการที่งานเยอะแบบท่วมท้นอย่างต่อเนื่อง
  • เกิดจากความรู้สึกถูกกดดันจากการทำงาน รวมความรู้สึกที่ว่า งานที่มันไม่ใช่ และไม่มีความสุขในการทำงานมาอย่างยาวนาน
  • เกิดจากความรู้สึกที่ว่าเราทำงานไม่มีประสิทธิภาพ และไม่สามารถทำงานสำเร็จได้

ซึ่งความรู้สึก 3 อย่างข้างต้นนั้น จะต้องเกิดขึ้นต่อเนื่องกันพอสมควรจนทำให้พนักงานคนนั้น รู้สึกได้ว่า เขาไม่ไหวอีกต่อไปแล้ว

เมื่อคำว่า Burnout มีสาเหตุจากการทำงาน ดังนั้น องค์กรที่ว่าจ้างพนักงานมาทำงาน จึงต้องมีส่วนในการรับผิดชอบด้วยเช่นกัน จะอ้างว่า เป็นการป่วยโดยไม่เกี่ยวกับงานไม่ได้อีกต่อไป ทั้งนี้ WHO ได้กำหนดนิยามของคำนี้ออกมาอย่างชัดเจนว่า เป็นความเจ็บป่วยที่มาจากการทำงานในองค์กรโดยตรง ด้วยนิยามนี้ ทำให้องค์กรจำเป็นที่จะต้องหาทางป้องกันพนักงานไม่ให้เกิดภาวะ Burnout

การที่องค์กรมีมาตรการป้องกันพนักงานไม่ให้เกิดอันตรายจากการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันความร้อนจากการผลิต การป้องกันฝุ่นควัน สารเคมี ที่ออกมาจากการผลิตในโรงงาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการป้องกันในเชิงกายภาพ เพื่อไม่ให้พนักงานความเจ็บป่วยจากการทำงาน

เช่นกัน องค์กรเองก็ควรจะมีมาตรการป้องกันความเครียดสะสมจากการทำงาน การรับมือกับการบริหารจัดการที่ส่งผลให้พนักงานเกิดความเครียด บรรยากาศในการทำงานที่กดดันมากจนเกินไป ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่องค์กรจำเป็นที่จะต้องมีการวางมาตรการในการป้องกันไม่ให้พนักงานเกิดภาวะ Burnout เช่นกัน

หลายองค์กรที่เน้นให้พนักงานทำงานอย่างมี Productivity ก็คือ มีผลงานที่สุดยอดในด้านต่าง ๆ ซึ่งนโยบายเหล่านี้ มักจะมุ่งเน้นไปที่เรื่องของการสร้างผลผลิตที่ดีอย่างต่อเนื่อง การลดต้นทุนการผลิตอย่างได้ผล อีกทั้งการสร้างยอดขาย และผลกำไรแบบก้าวกระโดด บางองค์กรถึงกับแจ้งกับพนักงานว่า เราจะต้องเติบโตแบบ Exponential ก็คือ แบบก้าวกระโดดเลย ไม่ใช่แบบค่อยเป็นค่อยไป

ซึ่งนโยบายเหล่านี้ เรามักจะมองผลลัพธ์ของมันเพียงอย่างเดียว และชื่นชมกับผลผลิตที่พนักงานทำได้ โดยองค์กรเองก็มีการให้รางวัลในการทำงานกับพนักงานที่ทำงานได้ดี ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือตอบแทนกันเป็นตัวเงินกันไป ไม่ว่าจะเป็นโบนัส เงินจูงใจ เงินค่าล่วงเวลา ฯลฯ แต่องค์กรหลายแห่งกลับลืม หรืออาจจะมองข้ามความเสี่ยงของนโยบายการเพิ่มผลผลิตแบบก้าวกระโดดว่า มันคือสาเหตุที่ทำให้พนักงาน เกิดความเครียดอย่างต่อเนื่อง ทำให้พนักงานรู้สึกถูกกดดันถึงผลลัพธ์ของการทำงาน จนบางครั้งเกิดการเสพติดสภาพที่ต้องทำให้เกิด Productivity ก็คือ รู้สึกว่าจะต้องทำงานตลอดเวลา ว่างไม่ได้ เดี๋ยวจะไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน ผลสุดท้ายก็เลยเกิดภาวะ Burnout ในที่สุด

ด้วยสาเหตุนี้เองที่ทำให้องค์กรในยุคนี้จึงต้องมีการวางนโยบายด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล การสร้าง Employee Experience ที่ดีให้เกิดขึ้นกับการทำงานของพนักงานในองค์กร เกิดนโยบาย Work Life Balance รวมถึงการสร้างบรรยากาศที่ดีทั้งกายภาพ และด้านจิตใจ แก่พนักงานที่ทำงานในองค์กร การทำงานแบบยืดหยุ่น การปรับปรุงสถานที่ทำงานให้โปร่งโล่งสบายกายสบายใจ มีมุมพักผ่อนให้พนักงาน รวมทั้งพัฒนาผู้บริหารให้รู้จักที่จะสร้างสมดุลระหว่างเวลาในการทำงาน กับ เวลาของพนักงานที่ต้องการความเป็นส่วนตัว ฯลฯ

แล้วองค์กรของท่านล่ะครับ มีนโยบายในการป้องกันภาวะ Burnout ที่อาจจะเกิดขึ้นกับพนักงานอย่างไรบ้าง

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

บลอกที่ WordPress.com .

Up ↑

%d bloggers like this: