วันนี้นำนิทานอีกเรื่องมาให้อ่านกันครับ อ่านแล้วน่าจะได้ข้อคิดอะไรในการใช้ชีวิตของเราหลายอย่างครับ
พระอาจารย์ท่านหนึ่งขณะที่กำลังเดินทางไปโปรดญาติโยมตามที่ต่างๆ ขณะที่ผ่านที่แห่งหนึ่ง รู้สึกหิวน้ำจึงเดินตามหาแหล่งน้ำ บังเอิญเห็นชายหนุ่มคนหนึ่งกำลังปั่นจักรยานน้ำเพื่อทดน้ำเข้านา จึงขอน้ำดื่มจากชายผู้นั้นเมื่อชายหนุ่มประเคนน้ำดื่มแล้ว พูดขึ้นด้วยความเลื่อมใสศรัทธาว่า
“พระอาจารย์ครับ วันหนึ่งถ้าข้าพเจ้าปลงตกแล้วจะออกบวชศึกษาธรรมะเช่นเดียวกับท่าน แต่ว่าเมื่อข้าพเจ้าออกบวชแล้ว จะไม่ออกเทศนาโปรดญาติโยมไปทั่วเหมือนเช่นท่าน ข้าพเจ้าจะหาที่ที่สงบวิเวก ตั้งหน้าตั้งตั้งตานั่งสมาธิวิปัสสนา ไม่ออกมาวุ่นวายกับโลกภายนอก”
พระอาจารย์อมยิ้มแล้วพูดขึ้นว่า “ แล้วเมื่อไหร่เจ้าถึงจะปลงตกได้ ?”
“ในหมู่บ้านนี้ คนรุ่นเดียวกับข้าพเจ้าก็มีข้าพเจ้าเพียงคนเดียวเท่านั้นที่เข้าใจวิธีการของจักรยานน้ำที่ทดน้ำเข้านา ซึ่งคนทั้งหมู่บ้านก็ต้องอาศัยแหล่งน้ำจากที่นี่ หากข้าพเจ้าสามารถหาคนที่มาทำงานแทนข้าพเจ้าได้และเมื่อไม่มีภาระที่ต้องรับผิดชอบติดตัว ข้าพเจ้าก็สามารถหาทางออกให้ตัวเองได้ เมื่อนั้นข้าพเจ้าก็จะสลัดทุกอย่างออกจากตัวแล้วออกบวช” ชายหนุ่มตอบ
“เจ้าเป็นผู้ที่เข้าใจเรื่องจักรยานน้ำมากที่สุด หากจักยานน้ำทั้งคันจมอยู่ในน้ำ หรือรถทั้งคันพ้นจากน้ำ แล้วจะเป็นยังไง?”
“หลักการที่แท้จริงคือต้องให้ครึ่งหนึ่งของช่วงล่างจมอยู่ในน้ำ ครึ่งหนึ่งของด้านบนทวนกระแสน้ำแล้วหมุน ถ้าให้จักรยานทั้งคันจมอยู่ในน้ำ ไม่แต่ทำให้ไม่หมุนแล้ว ยังจะต้องถูกกระแสน้ำพัดพาไปทั้งคัน และในหลักการเดียวกัน ถ้าให้ทั้งหมดอยู่พ้นน้ำก็ไม่สามารถทดน้ำขึ้นมาได้”
พระอาจารย์กล่าวต่อว่า “ความเกี่ยวข้องของจักรยานน้ำกับกระแสน้ำก็เหมือนกับความเกี่ยวพันของคนกับโลกของเรา หากคนๆหนึ่งอยู่ในโลกมนุษย์ที่ยังอยู่ในเพศฆราวาส ย่อมหนีไม่พ้นที่จะต้องถูกกระแสแห่งกิเลสแบบโลกๆซัดพาไป และหากเข้ามาอยู่ในเพศบรรพชิต คิดจะใช้ชีวิตสูงส่งใสสะอาดไม่ไปคลุกคลีไปมาหาสู่กับคนในโลก ก็จะทำให้ชีวิตล่องลอยไปเหมือนขาดราก หมุนวนไปอย่างเปล่าประโยชน์”
“เพราะเหตุนี้คนที่จะปฏิบัติธรรม จะอยู่เป็นที่หรือจะออกไปโลกภายนอกก็ได้ตามโอกาสจะต้องไม่เป็นผู้นิ่งดูดาย หรือเข้าไปทุ่มสุดตัว ต้องให้ทั้งฆราวาสและบรรพชิตต่างฝ่ายต่างช่วยเหลือจุนเจือซึ่งกันและกัน นี่ถึงจะเป็นการกระทำที่ถูกต้อง ทั้งต่อเพื่อนมนุษย์และต่อหน้าที่ที่ถูกต้องของผู้ออกบวชฝึกปฏิบัติธรรม”
ใส่ความเห็น