ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำงานที่บ้านของพนักงาน

ช่วงนี้เรื่องราวที่ถูกพูดถึงกันเยอะมากขึ้นก็คือ เรื่องของนโยบายการทำงานที่บ้าน ที่หลายบริษัทเริ่มให้พนักงานใช้กันไปบ้างแล้ว และเริ่มเห็นผลกระทบบางอย่างเกิดขึ้นบ้างแล้ว ซึ่งผลเหล่านี้ ชาว HR และผู้จัดการที่เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงก็คงต้องหาแนวทางในการเข้าไปแก้ไขกันต่อไปนะครับ

เราลองมาดูว่า มีผลกระทบอะไรกับพนักงานบ้าง

  • Burnout ความเหนื่อยล้าในการทำงาน พนักงานบางคนทำงานที่บ้านแล้ว รู้สึกเหนื่อยกว่าทำงานที่ออฟฟิศ ซึ่งพอจะสังเกตพฤติกรรมได้ก็คือ นั่งทำงานโดยไม่ลุกไปไหน เพราะมีวินัยในตนเองมาก เลยมุ่งมั่นที่จะทำงานให้เสร็จ และยิ่งทำอยู้บ้านด้วยแล้ว ยิ่งสบาย ไม่ต้องกังวลว่าจะมีใครมารับกวน ดังนั้น ก็เลยนั่งทำงานยาว ยาวจนลืมเวลา ไม่ลุกมาดื่มน้ำ ลืมเวลาอาหารเที่ยง บางคนไปกินเย็นเลย บางคนก็ไม่ได้กินเที่ยง ทั้งๆ ที่อยู่ในบริษัท ก็จะมีพี่ๆ น้องๆ มาชวนไปกิน พอมาอยู่บ้านไม่มีใครชวน ก็เลย ลืมตัว นั่งทำงานจนดึกดื่น และถ้าเป็นแบบนี้ทุกวัน สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับพนักงานก็คือ ความเหนื่อยล้า และปัญหาสุขภาพก็จะตามมาในไม่ช้า

 

  • มีคนรบกวนตลอดเวลา อีกลักษณะหนึ่งที่เกิดขึ้นจริงก็คือ ไม่สามารถที่จะทำงานที่บ้านได้เลย เพราะมีสิ่งรบกวนตลอดเวลา เช่น คนที่บ้าน สามี ภรรยา ลูก ซึ่งตอนนี้มาอยู่กันในบ้านหมดทุกคน จนไม่สามารถปลีกเวลามาทำงานได้อย่างที่ตั้งใจ ทั้งๆ ที่มีเครื่องมือและแผนงานประจำวันที่วางไว้อย่างชัดเจนแล้วก็ตาม

 

  • ความเหงา บางคนทำงานไม่ได้เลย เพราะเกิดความอ้างว้างโดดเดี่ยวเดียวดาย นึกภาพพนักงานที่อยู่คนเดียวในหอพัก หรือคอนโด ที่เช้าออกไปทำงานเจอเพื่อนร่วมงานทั้งวัน ได้เจอหน้า พบปะ พูดคุย ระบาย นินทา ฯลฯ แต่ตอนนี้ต้องมานั่งโดดเดี่ยว และทำงานไปเรื่อยๆ ก็จะรู้สึกเหงา บางคนเริ่มเกิดอาการซึมเศร้ามากขึ้น เพราะวันๆ แทบจะไม่ได้คุยกับใครเหมือนแต่ก่อน

3 ประการข้างต้นคือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ ในช่วงนี้ ที่องค์กรมีนโยบายให้พนักงานทำงานที่บ้าน ดังนั้น HR และผู้จัดการจึงจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการในการช่วยเหลือพนักงานไว้บ้าง ไม่ว่าจะเป็นการโทรศัพท์เข้ามาพูดคุยเรื่องอื่นบ้างที่ไม่ใช่เรื่องาน มีการประชุมแบบเห็นหน้าร่วมกันบ้าง และเปิดช่องทางในการพูดคุยให้มากกว่า แค่ช่องทางการสื่อสารที่บริษัทกำหนดไว้ในการทำงาน

HR บางบริษัท บอกผมว่า เขาต้องมีการวางแผนเพื่อโทรไปคุยกับพนักงานแต่ละคนด้วยตนเอง ถามทุกข์สุข ถามความรู้สึก และสอบถามปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะได้ช่วยแก้ไขปัญหาให้พนักงาน ทั้งนี้วัตถุประสงค์ก็คือ ไม่ต้องการให้พนักงานทำงานมากไป น้อยไป หรือเหงาจนเกินไป เป็นต้นครับ

ช่วงเวลาแบบนี้ HR ต้องแสดงความมั่นใจ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้พนักงาน สื่อสารกับพนักงานบ่อยๆ อย่างชัดเจน ไม่คลุมครือ รวมทั้งมีมาตรการรองรับเพื่อให้พนักงานรู้สึกสบายใจเวลาที่ต้องทำงานที่บ้าน

แล้วเราจะผ่านมันไปด้วยกันครับ

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

บลอกที่ WordPress.com .

Up ↑

%d bloggers like this: