การคัดเลือกพนักงาน ควรให้ผู้สมัครได้แสดงความสามารถให้เห็น

ในยุคแห่งความรู้ หรือที่เราเรียกกันว่า Knowledge Economy นั้น การที่เราจะสรรหาคัดเลือกพนักงานในระดับวิชาชีพเพื่อให้เข้ามาทำงานในลักษณะที่ต้องใช้ความคิด ต้องคิด ริเริ่ม บริหารจัดการงานของตนเอง รวมทั้งต้องทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างดีนั้น การคัดเลือกโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เพียงอย่างเดียวนั้น อาจจะไม่สามารถทำให้เราเห็นถึงความสามารถของผู้สมัครได้เลย

ปัจจุบันนี้องค์กรต่างๆ ต่างก็ต้องการพนักงานที่เก่ง มีฝีมือ และมีพฤติกรรมที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กร อีกทั้งยังต้องการพนักงานที่มีทัศนคติที่ดีอีกด้วย เพราะเราเชื่อว่า ความรู้กับทักษะนั้น เราเอามาฝึกกันได้ไม่ยาก แต่เรื่องของทัศนคติ และพฤติกรรมที่ติดตัวมานั้น เราไม่สามารถฝึกได้ และไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว

ดังนั้น ในการคัดเลือกพนักงานในยุคนี้จึงต้อง เน้นไปที่เลือกที่ทัศนคติและพฤติกรรม และส่วนความรู้และทักษะนั้นถ้าเราได้คนที่มีทัศคติที่ดี และมีพฤติกรรมที่ตรงกับองค์กรแล้ว ก็สามารถนำมาฝึกได้ไม่ยาก

แล้ววิธีการคัดเลือกผู้สมัครวิธีใดที่จะทำให้เราเห็นทัศนคติ และพฤติกรรมของพนักงานได้อย่างชัดเจนที่สุด

การสัมภาษณ์ผู้สมัครเพียงอย่างเดียวคงจะไม่ทำให้เห็นสิ่งเหล่านี้ได้เลย

ดังนั้นการสรรหาคัดเลือกพนักงานในยุคนี้จึงต้องมีการสร้างสรรค์วิธีการใหม่ๆ ที่ทำให้เราได้เห็นความคิด พฤติกรรม ทัศนคติของผู้สมัครตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาสมัครงานกับเรา ก็เลยมีการกำหนดแนวทางในการสรรหาคัดเลือกแนวใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้เห็นความคิดความอ่าน ทัศนคติมุมมอง พฤติกรรมต่างๆ ของผู้สมัครอย่างชัดเจนนั่นเอง เพื่อสุดท้ายแล้วเราจะได้เลือกคนที่ตรงกับองค์กรของเรามากที่สุด

  • ยกเลิกการเขียนใบสมัคร แต่ให้ส่งเป็น VDO แทน ยุคนี้บางองค์กรต้องการคนอย่างรวดเร็วมากๆ ดังนั้นใบสมัครที่ผู้สมัครเขียนไว้นั้น บางแห่งแทบจะไม่ได้อ่านเลยด้วยซ้ำไป ก็เลยทำให้เกิดแนวทางใหม่ในการสมัครงานขึ้นมา เช่น มีคำถามให้กับผู้สมัคร 5 คำถาม และให้ผู้สมัครตอบคำถามเหล่านี้ โดยการถ่ายเป็น VDO ความยาวไม่เกิน 5 นาที และส่งเข้ามาที่บริษัท การใช้วิธีนี้ จะทำให้เราเห็นความสามารถของผู้สมัครงานตั้งแต่วันแรกเลย ตั้งแต่วิธีการตอบคำถาม วิธีการถ่าย VDO ว่าตั้งแต่ทำแค่ไหน หรือสักแต่ว่าทำและตอบๆ มา วิธีการแต่งกาย การพูดจา ลักษณะของความคิด มุมมองในด้านต่างๆ (จากคำถามที่ถามไป) ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้ทำให้เราพอจะตัดสินใจได้เลยด้วยซ้ำไปว่า เราจะเลือกใคร ตั้งแต่เราดู VDO ของผู้สมัครแต่ละคนจบไป

 

  • ให้ผู้สมัครเข้ามาทำกิจกรรมร่วมกัน บางองค์กรที่สามารถหาผู้สมัครได้มากพอ ก็มักจะใช้เวลาอีก 1 วัน หรือครึ่งวัน ที่จะให้กลุ่มผู้สมัครนี้เข้ามาทำกิจกรรมร่วมกัน โดยอาจจะมีงานมอบหมายให้ทำในระยะเวลาที่กำหนดไว้ และอาจจะมีการนำเสนอผลงานให้กับคณะกรรมการพิจารณาด้วย ซึ่งวิธีการคัดเลือกแบบนี้จะยิ่งทำให้เราเห็นวิธีคิด วิธีการทำงาน การทำงานร่วมกับคนอื่น ทัศนคติการมองปัญหา การแก้ไขปัญหา และความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำงาน ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ การสัมภาษณ์เพียงอย่างเดียว เราไม่สามารถที่จะมองเห็นได้ทั้งหมดอย่างแน่นอน

 

  • การสัมภาษณ์โดยเน้นไปที่ความคิดเห็น มุมมองที่มีต่อเรื่องราวต่างๆ หลายองค์กรใช้วิธีการสัมภาษณ์ โดยเป็นการสัมภาษณ์แบบที่มีวัตถุประสงค์แน่นอน มีคำถามที่ชัดเจนแน่นอน โดยคำถามก็จะเน้นไปที่การแสดงความคิดเห็นโดยไม่มีอะไรผิดถูก แต่จะเน้นไปที่การใช้เหตุผลสนับสนุนความคิดของตนเองมากกว่า ที่จะมาพิจารณาถูกผิด

 

  • มอบหมายงานให้ทำ และมานำเสนอในวันสัมภาษณ์ บางแห่งก็เริ่มที่จะให้งานผู้สมัครแต่ละคนไปทำมา โดยเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานที่สมัครไว้ อาจจะเป็นกรณีศึกษาให้คิดแก้ปัญหา หรือเป็นประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในองค์กร แต่เอามาแปลงให้เป็นปัญหาเพื่อให้ผู้สมัครได้คิด และหาคำตอบ จากนั้นก็ให้เวลาผู้สมัครในระยะเวลาเท่าๆ กัน เช่น 2 วัน และจากนั้นก็นัดสัมภาษณ์ เพื่อที่จะฟังคำตอบและแนวคิดของผู้สมัครแต่ละคน โดยให้เวลาเขาในการนำเสนอ และตอบคำถามคนละ 1 ชั่วโมง

จะสังเกตเห็นว่าวิธีการคัดเลือกที่เขียนมาข้างต้นนั้น เป็นวิธีการคัดเลือกผู้สมัคร ที่เน้นไปที่การให้ผู้สมัครได้แสดงความคิดเห็น แสดงทัศนคติ ความสามารถ และพฤติกรรมต่างๆ ออกมาให้เราเห็น ซึ่งถ้าเราสามารถพัฒนาคนที่มาคัดเลือกขององค์กรเรา ให้มองและพิจารณาผู้สมัครได้ ก็จะยิ่งทำให้เราคัดเลือกคนได้ตรงกับที่องค์กรต้องการมากที่สุดครับ

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

บลอกที่ WordPress.com .

Up ↑

%d bloggers like this: