ปัญหาสุขภาพจิต กับการทำงาน ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม

 

อย่างที่ทราบๆ กันดีอยู่แล้วว่า ปัจจุบันนี้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมันไปอย่างรวดเร็วมาก เราเคยคิดว่า ถ้าเทคโนโลยีก้าวหน้ามากๆ ก็น่าจะทำให้เราเกิดความสะดวกสบายมากขึ้นทั้งในชีวิตการทำงาน และชีวิตส่วนตัว แต่ในความเป็นจริงนั้น บางเรื่องทำให้เราสบายขึ้นจริงๆ แต่ผลกระทบของมัน กลับทำให้ชีวิตของคนเราเริ่มเปลี่ยนแปลงไปมากขึ้นเรื่อยๆ

การติดต่อสื่อสารที่ถึงกันตลอดเวลา ทุกเวลา การทำงานที่ไม่มีแบ่งเวลางานอีกต่อไป สามารถทำงานสั่งงานกันได้ตลอดเวลา ความต้องการของลูกค้าที่มีความคาดหวังสูงขึ้น เร็วขึ้น ต้องการทุกอย่างที่ดีกว่าเดิม ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนส่งผลให้คนทำงานเกิดปัญหาทางด้านสุขภาพตามมาได้

ในอดีต องค์กรให้ความสำคัญในเรื่องสวัสดิการพนักงาน โดยเน้นไปในเรื่องของสุขภาพกายเป็นหลัก การเจ็บป่วย การักษา การป้องกัน ฯลฯ ซึ่งเน้นไปที่สุขภาพกายมากกว่า โดยไม่ได้คิดถึงสุขภาพจิตมากนัก เพราะคิดว่า มันคงไม่มีความสำคัญมาก

แต่ในปัจจุบัน เรื่องของสุขภาพจิตกลับสร้างผลกระทบมากขึ้นเรื่อยๆ กับมนุษย์เราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการใช้ชีวิต และการทำงาน ผลจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น มันทำให้คนเราปัจจุบันเกิดปัญหาทางด้านสุขภาพจิตกันมากขึ้น และที่สำคัญก็คือ องค์กรในบ้านเราเองก็ยังไม่ค่อยให้ความสำคัญในเรื่องนี้มากนัก ยิ่งไปกว่านั้น พนักงานเองแม้ว่าจะรู้ว่าตนเองมีปัญหาด้านสุขภาพจิต แต่ก็ไม่สามารถที่จะบอกใครได้ เพราะกลัวจะถูกปฏิบัติไม่ดี ทางฝั่งนายจ้างเองก็ไม่ค่อยจะสบายใจนักที่ต้องพูดคุยกันพนักงานที่มีปัญหาสุขภาพจิต ก็เลยถูกมองข้ามกันไปเรื่อยๆ

แต่ปัจจุบันนี้เราคงมองข้ามกันไปไม่ได้อีกต่อไปแล้ว เพราะมันมีส่งผลกระทบต่อชีวิตของพนักงาน และต่อการทำงานด้วยเช่นกัน

เราลองมาดูปัญหาทางด้านสุขภาพจิตหลักๆ กันว่ามีอะไรกันบ้าง

  • Depression ก็คือ อาการของคนที่มีภาวะจิตใจที่หดหู่ รู้สึกหมดอาลัยตายอยาก เป็นเวลาติดต่อกันนานๆ ซึ่งภาวะนี้จะทำให้คนนั้น รู้สึกสิ้นหวัง หมดหวัง ท้อแท้ รู้สึกผิดกับทุกอย่างในชีวิต รู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่าอะไรกับใครเลย

 

  • Anxiety คือภาวะที่คนเรารู้สึกกระสับกระส่าย รู้สึกวิตกกังวลอยู่ตลอด จริงๆ คนเราหลีกเลี่ยงความรู้สึกวิตกกังวลไม่ได้อยู่แล้ว แต่คนที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต จะมีอาการที่วิตกจริตอย่างต่อเนื่อง ไม่สามารถหยุดได้เลย มักจะมีอาการกลัวมากกว่าที่ควรจะเป็น กลัวสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น เกิดอาการเครียด วิตก พูดไม่รู้เรื่อง ปฏิเสธทุกอย่าง เพราะกลัวในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น

 

  • Panic attacks มีอาการตกใจกลัวอย่างฉับพลัน และความกลัวนั้นก็ไปกระตุ้นจิตใจให้สับสน และกลายเป็นอีกคนหนึ่ง ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการหายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว สั่น กลัว เจ็บหน้าอก มึนงง และมักจะจดจำแต่ความกลัวนั้นอยู่ตลอดเวลา จนไม่สามารถทำอะไรอย่างอื่นได้เลย

 

  • Obsessive-compulsive disorder ก็คือ โรคย้ำคิดย้ำทำ คือความผิดปกติทางจิตอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้ต้องตรวจสอบสิ่งรอบตัวซ้ำ ๆ มีความคิดผุดขึ้นมา หรือมีความรู้สึกอยากทำในสิ่งที่ทำไปแล้วซ้ำไปซ้ำมา และมักจะไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมและความคิดของตนเองได้ พฤติกรรมซึ่งพบเห็นได้บ่อย เช่น การล้างมือ การนับสิ่งของ การตรวจสอบว่าประตูล็อกแล้วหรือยัง บางคนเป็นมากๆ จนมีผลกระทบต่อการทำงานและการใช้ชีวิต

 

  • Phobias เป็นอาการกลัวในลักษณะถึงขั้นจิตหลอนกันเลย ก็คือ มักจะกลัวบางสิ่งเป็นพิเศษ กลัวจนไม่สามารถที่จะควบคุมตนเองได้เลย เรียกว่ากลัวจนอาจจะถึงกับทำร้ายตัวเองได้เวลาที่เจอกับเหตุการณ์นั้นๆ เช่น กลัวความสูง กลัวที่แคบ กลัวแมงมุม ฯลฯ

 

  • Bipolar disorder มีลักษณะอารมณ์เปลี่ยนแปลงไปมาอย่างชัดเจนและคาดเดาไม่ได้ ระหว่างอารมณ์ซึมเศร้า (Major depressive episode) สลับกับช่วงอารมณ์ดีมากเกินปกติ (Mania หรือ Hypomania) โดยอาการในแต่ละช่วงอาจเป็นอยู่นานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนก็ได้ อาการของโรคจะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยทั้งในด้านการงาน การประกอบอาชีพ ความสัมพันธ์กับผู้อื่น

 

  • Schizophrenia โรคจิตเภท เป็นการป่วยทางจิตที่ส่งผลต่อจิตใจเช่น การหลงผิดหรือการเห็นภาพหลอน อาจจะมีอาการหวาดระแวง ไม่เป็นระเบียบ พูดจาไม่รู้เรื่อง หรือาจจะมีการพูดคนเดียว

 

  • Personality disorders ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ อาจจะมีอาการ ได้แก่ มีความหวาดระแวง ไม่แยแสสังคม อารมณ์ไม่คงที่ ย้ำคิดย้ำทำ วิตกกังวล อาการล่องลอยควบคุมตัวเองไม่ได้ บ้างก็เป็นลักษณะของการหลงตัวเอง การดื้อเงียบ เป็นความแปรปรวนทางด้านบุคลิกภาพ

 

  • Psychosis หรือที่เราเรียกกันว่า โรคจิต โรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจแบ่งออกเป็นหลายชนิดแยกย่อยไปตามอาการเด่นของแต่ละชนิด โดยส่วนใหญ่ผู้ที่เป็นโรคจิตจะไม่ทราบว่าตนเองผิดปกติไป เขาจะเชื่อในสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเองว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆ ไม่เคยคิดสงสัยว่าไม่น่าจะเป็นไปได้หรือสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไม่สมเหตุสมผล เช่น เชื่อว่าตนเองนั้นรวยมากเป็นคนใหญ่โต เชื่อว่าตนเองกำลังถูกปองร้าย เชื่อว่าตนเองมีคนรักมากมาย เชื่อว่าตนเองกำลังเจ็บป่วยหนัก ฯลฯ

และในกรณีที่พนักงานมีอาการดังกล่าวข้างต้น องค์กรเองจะมีมาตรการอะไร อย่างไร และจะมีสวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องทางสุขภาพจิตอย่างไร นี่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ฝ่ายบุคคลควรจะต้องศึกษาและหาวิธีในการบริหารจัดการให้ได้

ตอนนี้เราทราบกันดีว่าถ้าเราเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ บริษัทช่วยอะไรเราบ้าง เรารู้ว่า ถ้าเราเจ็บป่วยทางกายจนต้องเข้าโรงพยาบาล เราก็มีเรื่องของประกันต่างๆ เข้ามาคุ้มครอง และมีการรับรองว่า หายแล้วจะกลับไปทำงานต่อได้อีก

แต่เรื่องของสุขภาพจิตนั้น มันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก การเปิดเผย การรู้ของพนักงาน มีผลทางสังคมต่อพนักงานคนนั้นแน่นอน การรักษา และถ้าหายกลับมาแล้ว เขาจะยังได้รับโอกาสในการทำงานเหมือนเดิมหรือไม่

นี่คือสิ่งที่ต้องหาคำตอบ และต้องวางระบบให้ชัดเจน

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

บลอกที่ WordPress.com .

Up ↑

%d bloggers like this: